ปัจจุบัน ‘อาหารเพื่อสุขภาพ’ คือ อาหารที่หลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต งาดำ ลูกเดือย ข้าวบาร์เลย์ และมอลต์ เป็นหนึ่งในอาหารสุขภาพที่ได้รับความนิยมตลอดกาล เพราะมีคุณประโยชน์มากมาย อุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลายที่ร่างกายต้องการ
นอกจากอาหารเพื่อสุขภาพแล้วก็ยังมี ‘เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ’ เช่นกัน โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของ มอลต์สกัดจากข้าวบาร์เลย์ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีกลิ่นหอม และรสชาติอร่อยกลมกล่อม
มอลต์ (Malt)
“มอลต์” คือ เมล็ดธัญพืชที่ผ่านกระบวนการแปรสภาพ ซึ่งสามารถสกัดมาจากธัญพืชได้หลากหลายชนิด แต่มอลต์ที่สกัดจาก ‘ข้าวบาร์เลย์’ เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง กลิ่นหอมและมีรสหวานอร่อยตามธรรมชาติ เนื่องจากข้าวบาร์เลย์มีเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ที่ใช้ในการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลได้ดีมากกว่าธัญพืชชนิดอื่น
มอลต์สกัดจากข้าวบาร์เลย์ (Malted barley)
มอลต์สกัดนั้นเริ่มต้นมาจากการสกัด ‘เมล็ดข้าวบาร์เลย์’ เมื่อเรานำเมล็ดไปแช่น้ำจะมีการแตกหน่อและแทงยอดอ่อนออกมา ซึ่งช่วงระยะเวลาในการเติบโตนี้ เมล็ดข้าวบาร์เลย์จะกลายเป็นเมล็ดงอก (sprout) คือส่วนที่อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ จากนั้นนำมาหยุดการเจริญเติบโตด้วยความร้อน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกมาจะถูกเรียกว่า ‘มอลต์’
คุณประโยชน์ของมอลต์สกัดจากข้าวบาร์เลย์
1. คุณค่าทางโภชนาการสูง
นอกจากโปรตีน มอลต์ยังมีคุณประโยชน์ที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ โดยเฉพาะวิตามินบี วิตามินบี เป็นวิตามินที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเผาผลาญ ช่วยควบคุมการทำงานของเนื้อเยื่อและระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมสภาวะสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรง เช่น
• วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน : Riboflavin) และ วิตามินบี 3 (ไนอะซิน : Niacin) มีส่วนช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันตามปกติ มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาท
• วิตามินบี 6 (ไพริดอกซีน: Pyridoxine) วิตามินบี6 มีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงตามปกติ มีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบประสาท มีส่วนช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานจากเมตาบอลิซึมตามปกติ และมีส่วนช่วยในการทำหน้าที่ตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
2. เสริมสร้างมวลกระดูกและฟัน
จากการศึกษาพบว่าประโยชน์ของมอลต์สกัดจากข้าวบาร์เลย์ คือ มีแมกนีเซียม (Magnesium) และแคลเซียม (Calcium) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการสร้างมวลกระดูกและฟัน มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง
3. ลดความรู้สึกหิว
มอลต์มีประโยชน์และใยอาหารที่ละลายน้ำได้ (Soluble fiber) ชื่อว่า ‘เบต้ากลูแคน (B-glucan)’ ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถพองตัวเป็นเจล ช่วยเพิ่มความหนืดให้กับกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ทำให้อัตราการย่อยและดูดซึมสารอาหารช้าลง อาหารจะอยู่ในกระเพาะนานขึ้น ซึ่งทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มนานและไม่รู้สึกหิวเร็ว
4. เติมพลังงานให้กับร่างกาย
อีกคุณประโยชน์ของมอลต์สกัดจากข้าวบาร์เลย์ คือ เอนไซม์อะไมเลสซึ่งมีหน้าที่เปลี่ยนแป้งให้กลายเป็นน้ำตาลมอลโทสและน้ำตาลกูลโคส เนื่องจาก ‘น้ำตาลกลูโคส’ คือ คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่มีโมเลกุลขนาดเล็กทำให้ร่างกายดูดซึมง่าย จะกลายเป็นพลังงานที่พร้อมใช้งานได้ทันที ช่วยลดความเหนื่อยล้าของร่างกาย
ในขณะเดียวกัน ‘น้ำตาลมอลโทส’ คือน้ำตาลโมเลกุลคู่มีขนาดใหญ่ ทำให้อัตราเวลาในการดูดซึมน้ำตาลมอลโทสของร่างกายจึงช้า ส่งผลให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างต่อเนื่องและไม่รู้สึกหิวระหว่างวัน
5. อารมณ์แจ่มใส ใจมีสุข
มอลต์มีประโยชน์จากสารฮอร์ดีนีน (Hordenine) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการทำงานของตัวรับสัญญาณโดปามีน (Dopamine D2 receptor 4kp)ในระบบประสาท ทำหน้าที่สร้างความสุขให้กับร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายของเรารู้สึกดี รู้สึกผ่อนคลาย ใจมีสุข
6. นอนหลับสนิท สบายตลอดคืน
มอลต์มีประโยชน์จากแร่ธาตุแมกนีเซียม (Magnesium) สูง ซึ่งแมกนีเซียมถือว่าเป็นสารจากธรรมชาติที่ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น จากการศึกษาอาหารที่มีผลต่อคุณภาพการนอนหลับ (Marie-Pierre St-Onge, 2016) ถูกตีพิมพ์บนนิตยสารวิชาการ Journal Advances in Nutrition ในปี 2016 พบว่าการดื่มนมที่ผสมกับมอลต์ก่อนเวลานอน สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับให้ดีขึ้น
7. ควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด
ในมอลต์ยังมีประโยชน์และคุณสมบัติหนึ่งซึ่งก็คือเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Carbohydrate complex/ Polysaccharide) ที่สามารถช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและไขมันในเลือด ทำให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดได้อย่างสมดุล
“มอลต์สกัดจากข้าวบาร์เลย์” คือ ธัญพืชที่เป็นแหล่งคุณค่าทางโภชนาการชั้นดี มีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายหลากหลายชนิดถูกรวบรวมเอาไว้ด้วยกัน เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถหารับประทานได้ง่าย ไมโลนมช็อกโกแลตมอลต์ อิ่มอร่อยอยู่ท้อง มีรสชาติอร่อยเป็นที่ถูกใจของคนทุกเพศทุกวัย
แหล่งอ้างอิง
LaMarco, N. (2019, October 17). The Benefits of Malt Extract Beverages. Retrieved from www.livestrong.com: https://www.livestrong.com/article/497215-the-benefits-of-malt-extract-beverages/
Mahesh Gupta, N. A.-G. (2010). Barley for Brewing: Characteristic Changes during Malting, Brewing and Applications of its By-Products. Comprehensive review in food science and safety, 318-328
Marie-Pierre St-Onge, A. M. (2016). Effects of Diet on Sleep Quality. Advances in Nutrition, 938-949.
Petre, A. (2018, September 18). 9 Impressive Health Benefits of Barley. Retrieved from www.healthline.com: https://www.healthline.com/nutrition/barley-benefits#TOC_TITLE_HDR_6