ไมโครพลาสติก ภัยร้ายที่ส่งผลร้ายต่อโลกและมนุษย์กว่า 200 ปี 03-M_Lot3.jpg

ไมโครพลาสติก ภัยร้ายที่ส่งผลร้ายต่อโลกและมนุษย์กว่า 200 ปี

 

“ก็แค่หลอดพลาสติกหลอดเดียว มันจะอะไรกันนักกันหนา” หารู้ไม่ว่า นี่คือความคิดที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเสียหายและผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และต่อตัวคุณเอง

 

ไมโครพลาสติก คืออะไร

 

ไมโครพลาสติก คือ เศษชิ้นส่วนพลาสติกที่มีขนาดเล็กมาก ๆ จนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติก ซึ่งไมโครพลาสติกสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

 

  1. ไพรมารี่ ไมโครพลาสติก (Primary Microplastics) เป็นพลาสติกที่ผลิตมาให้มีขนาดเล็ก ๆ ผลิตเพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะด้าน เช่น ไมโครบีดส์ (microbeads) หรือก็คือเม็ดสครับ เป็นเม็ดพลาสติกเล็ก ๆ อยู่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า เครื่องสำอางค์หรือผลิตภัณฑ์สครับผิว
  2. เซนเคินดารี่ ไมโครพลาสติก (Secondary Microplastics) เป็นพลาสติกที่เกิดจากการย่อยสลาย เสื่อมสภาพ การแตกหักของผลิตภัณฑ์พลาสติกทั่วไปที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก แก้วพลาสติก หลอดพลาสติกหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ ด้วยกระบวนการทางเคมี ชีวภาพและกายภาพจากคลื่นแสงอาทิตย์ แรงบีบอัดจนแตกหักเป็นเศษเล็ก ๆ กลายเป็นสารแขวนลอยปะปนอยู่ในแม่น้ำและทะเล เมื่อสัตว์ทะเลไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่กินเข้าไป ก็ก่อให้เกิดอันตรายหรือเสียชีวิตได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหาร

 

เมื่อ ‘ไมโครพลาสติก’ ปนเปื้อนในร่างกายมนุษย์ ผ่านอาหารที่รับประทานเข้าไป

 

The Guardianรายงานข่าว การค้นพบไมโครพลาสติกในร่างกายมนุษย์เป็นครั้งแรก นี่คือผลวิจัยและการทดสอบจาก Vrije Universiteit Amsterdam เป็นการเก็บตัวอย่างเลือดแบบสุ่ม ซึ่งผลออกมาเป็นที่น่าตกใจ เพราะ 80% จากกลุ่มตัวอย่าง ตรวจจับการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในเลือดได้ และเมื่อวิจัยให้ลึกลงไปอีก ทราบได้ว่า ไมโครพลาสติกในร่างกาย สามารถเดินทางไปได้ในทุกๆ ส่วน ผ่านทางหลอดเลือดในร่างกายมนุษย์ และอาจจะไปสะสมอยู่ที่อวัยวะภายในส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้

อันตรายของไมโครพลาสติก

 

ผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อร่างกายมนุษย์

 

รายงานยังกล่าวอีกว่า ในผู้ถูกทดสอบบางคน ตรวจพบพลาสติก 2-3 ชนิดภายในตัวอย่างเดียว คำถามที่ยังคงไม่ชัดเจนนักคือ แล้วไมโครพลาสติกที่กำลังวิ่งไปทั่วร่างกายของเรา กำลังทำอะไรกับร่างกายของเราบ้าง มันถูกสะสมในร่างกายหรือเปล่า จะไปกระทบการทำงานของอวัยวะส่วนใดหรือไม่ หรือจะเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคร้ายที่ตามมาในอนาคต นี่ยังเป็นคำถามที่นักวิจัยยังคงหาคำตอบกันอยู่ แต่ที่แน่ๆ สมมติฐานที่น่าสนใจ คือไมโครพลาสติกเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ไม่ในแง่ใดก็แง่หนึ่งแน่นอน

 

ประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับไมโครพลาสติกแค่ไหน?

 

ไมโครพลาสติกตัวปัญหาที่เราพูดถึงเกิดมาจากปัญหาขยะพลาสติกที่เราใช้งานกันจนชินในชีวิตประจำวัน เช่น ขวดน้ำพลาสติก ถุงพลาสติกหรือหลอดพลาสติก เป็นต้น แล้วคิดว่าประเทศไทยของเรามีส่วนร่วมกับปัญหานี้มากน้อยแค่ไหนกัน จริงๆ เราอาจจะไม่ได้ใช้พลาสติกกันเยอะมากหรือเปล่านะ? คำตอบถูกรายงานออกมาผ่าน Ocean Conservancy ว่าประเทศไทยติดอันดับที่ 12 ในการสร้างขยะพลาสติก จำนวนสูงถึง 4.8 ล้านตันต่อปี ทางกรุงเทพมหานครเอง ก็ได้มีรายงานตัวเลขยอดการใช้พลาสติกของปี 2563 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่เพิ่มขึ้นจากปี 2562 เพิ่มขึ้นถึง 3,440 ตัน/วัน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นถึง 62% โดยจำนวนพลาสติกที่ใช้กัน ก็มีเพียงแค่ 19% เท่านั้นที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ที่เหลือจัดเป็นพลาสติกปนเปื้อนทั้งหมด

ปัญหาหลอดพลาสติกและไมโครพลาสติกในไทย

 

มาในระดับโลก ทุกคนเริ่มตระหนักรู้กันมากขึ้นถึงปัญหาขยะพลาสติก ซึ่งพลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายในทั่วโลกอย่าง โพลีโพรพิลลีน (Polypropylene) หรือ PP เป็นพลาสติกที่มีสัดส่วนการใช้งานสูงที่สุดในโลก โดยถูกนำไปแปรรูปออกมาให้เราใช้งานกันหลายอย่าง แต่ที่เราคุ้นเคยและใกล้ตัวที่สุดคือ ‘หลอดพลาสติก’ นั่นเอง

จริงอยู่ที่พลาสติก PP เป็นพลาสติกที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ แต่ด้วยกระบวนการจัดการขยะที่ต้องใช้ความซับซ้อน จากรูปทรงของหลอดที่มักจะเข้าไปติดในเครื่องย่อยจนขัดข้อง และความรัดกุมของการจัดการขยะ ทำให้หลอดพลาสติก เป็นขยะพลาสติกชิ้นเล็กที่มักจะหลุดลอดออกไปสู่แหล่งน้ำเสมอ ๆ

 

ปัญหาหลอดพลาสติก: ภัยร้ายจากท้องทะเลสู่ตัวเราที่ฝังตัวกับสิ่งแวดล้อมกว่า 200 ปี

 

แม้ว่าเป็นเวลาการใช้งานไม่ถึง 20 นาที แต่ระยะเวลาในการย่อยสลายต้องเติมศูนย์เข้าไปอีกตัว และเปลี่ยนหน่วยเวลาจากนาทีกลายเป็นปีเลย เพราะหลอดพลาสติกจะย่อยสลายได้ ต้องใช้เวลานานถึง 200 ปี และต้องอยู่ในสภาวะที่เหมาะสมกับการย่อยสลายอีกด้วยนะ

 

เพราะฉะนั้นทันทีที่หลอดพลาสติกหลุดรอดลงไปในแหล่งน้ำ ไม่ใช่แค่สร้างความสกปรกให้กับแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่สิ่งมีชีวิตนานาชนิดต้องพลีชีพให้กับหลอดพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นเต่าทะเลที่หลอดเข้าไปอุดในทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นคลิปไวรัลในต่างประเทศที่สร้างความสะเทือนใจให้กับคนรักสัตว์เป็นอย่างมาก หรือแม้แต่ปลาเล็กปลาใหญ่ก็ต้องโดนหลอดพลาสติกเข้าไปสร้างความเสียหายภายในร่างกายทั้งนั้น

และต่อให้ไม่มีสัตว์ทะเลกินหลอดพลาสติกเข้าไปก็จริง แต่รังสีอัลตร้าไวโอเลตจากแสงแดด ก็จะไปทำให้เจ้าหลอดพลาสติกเกิดการแตกตัว ย่อยสลายเป็นอนุภาคเล็ก ๆ กลายเป็นเศษเสี้ยวพลาสติกนับล้านๆ ชิ้น หรือที่เราเรียกกันว่า ’ไมโครพลาสติก’ ปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อมอยู่ดี ทั้งอากาศ แหล่งน้ำ

ซึ่งท้ายที่สุด ก็ถูกปนเปื้อนและหลุดเข้าไปในตัวของสัตว์ต่าง ๆ อยู่ดี มนุษย์อย่างเราที่เชื่อว่าเป็นจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร ก็ได้รับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายผ่านทางอาหารที่เรารับประทานเข้าไปทุก ๆ วัน ดังที่มีการค้นพบเม็ดพลาสติกเป็นครั้งแรกในหลอดเลือดของมนุษย์นั่นเอง

แม้ว่ายังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงอันตรายของการสะสมพลาสติกในร่างกายก็จริง แต่ก็มีแพทย์ที่ลงความเห็นว่า การสะสมไมโครพลาสติกในร่างกายของมนุษย์ อาจส่งผลกระทบต่อระบบภายในของร่างกาย ทั้งการอุดตันเซลล์ในอวัยวะภายในบางจุด และก่อให้การทำงานถดถอยและล้มเหลว ในท้ายที่สุด ความคิดที่ว่า “แค่หลอดพลาสติกเพียงหลอดเดียว ไม่น่าจะเป็นอะไร” ก็จะย้อนกลับมาทำร้ายทั้งตัวเรา และคนที่เรารัก

 

เพื่อลูก เพื่อโลก ก้าวแรกที่เริ่มได้ด้วย ‘ไมโลหลอดกระดาษใหม่’

 

ไมโลหลอดกระดาษใหม่ นวัตกรรมที่จะช่วยลดปัญหาหลอดพลาสติก

 

ด้วยปณิธานของไมโลที่เห็นถึงความอันตรายของพลาสติก จึงมีการปรับใช้วัสดุและบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ทดแทนการใช้พลาสติก ทางไมโลจึงเลือกด้วยกระดาษทั้งกล่องกระดาษ รวมทั้งหลอดกระดาษด้วยนั่นเอง

 

เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อทุกคนมีความคาดหวังให้ลูกได้เติบโตไปอย่างสมวัย ภายใต้พัฒนาการที่ได้จากสารอาหารที่ปลอดภัย ไม่ปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอมที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูก และภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สวยงาม พร้อมสนับสนุนทุกก้าวเดินของลูกให้ได้เติบโตอย่างแข็งแรงและสร้างสรรค์ หรือแม้แต่การสอนให้ลูกเห็นคุณค่าและความสวยงามของสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ลูกเรียนรู้ที่จะรัก และปกป้องสิ่งที่เขาชื่นชม และการเริ่มใช้หลอดกระดาษให้ชินก็เป็นวิธีง่าย ๆ ในการรักษ์โลกนั่นเอง

วันนี้ ไมโลกลับมาพร้อมกับหลอดกระดาษปรับปรุงใหม่ ที่พัฒนาความแข็งแรงขึ้นจากเสียงของผู้ใช้งานจริงในหลากหลายช่องทาง ทำให้ไมโลหลอดกระดาษปรับปรุงใหม่ มีความแข็งแรง ทนทานกว่าเดิม เพื่อให้ทุกคนได้รับประสบการณ์ การดื่มไมโลที่ดีกว่าเดิม

อยากรู้จักไมโลหลอดกระดาษมากขึ้น อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ บทความหลอดกระดาษไมโล ดีอย่างไร

มาเริ่มต้นก้าวเล็ก ๆ ของการรักโลกไปพร้อม ๆ กันกับไมโล พร้อมให้ทุกคนได้ทดสอบการใช้งานที่ไมโลทุกกล่องแล้ว

 

Sources:

https://www.theguardian.com/environment/2022/mar/24/microplastics-found-in-human-blood-for-first-time 
https://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/ArticlesAnalysis/microplastics.pdf 
https://brandinside.asia/plastic-pollution/  
https://www.prachachat.net/world-news/news-895649