การกินอาหารเป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกท่านคงให้ความสำคัญกับลูก ๆ ทุกคน โดยเฉพาะการเตรียมอาหารให้เหมาะสมในแต่ละมื้อ แต่ถึงอย่างนั้นเชื่อว่าคุณแม่หลายท่านก็คงสงสัยไม่น้อยว่าทำไมลูกผอมมาก ปกติลูกก็กินเก่งแต่ไม่อ้วนขึ้นสักทีวันนี้เรามีคำตอบเพื่อมาไขข้อข้องใจกันค่ะ
ปัจจัยที่ทำให้ลูกผอมมาก
1. กินเก่ง แต่ไม่หลากหลาย
หลายครั้งที่คุณแม่เห็นว่าลูกกินเก่ง แต่ไม่อ้วน ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือเด็ก ๆ กินยาก เพราะเด็ก ๆ มักจะเลือกกินเฉพาะในสิ่งที่ชอบ ถึงแม้ว่าลูกจะกินเยอะแค่ไหนแต่ถ้าสิ่งที่เขาชอบกินนั้นไม่ได้มีสารอาหารที่เพียงพอก็จะทำให้ลูกผอมมากได้เช่นกัน แต่หากลูกชอบการกินผักผลไม้เยอะ ๆ เพื่อให้อิ่ม ถ้าเป็นเช่นนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลมาก เพราะลูกชอบในสิ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการอยู่แล้ว แค่เสริมด้านคาร์โบไฮเดรต โปรตีน เครื่องดื่มที่มีประโยชน์ในมื้อเช้าของลูก เพื่อเพิ่มพลังงาน และควรพยายามคอยสังเกตให้น้ำหนักยังอยู่ในเกณฑ์
2. สมดุลระหว่างการกินกับกิจกรรมที่ทำ
เด็กในวัยประถมจะเริ่มมีกิจกรรมสำหรับเด็กประถมที่ตัวเองชื่นชอบโดยเฉพาะการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ที่ต้องใช้พละกำลังเยอะ รวมถึงมีการเผาผลาญที่เพิ่มมากขึ้นอาจทำให้ลูกผอมได้ง่ายจึงเป็นอีกสาเหตุที่ต่อให้ลูกกินเก่งแต่ไม่อ้วนขึ้นได้ ซึ่งคุณแม่ต้องปรับสมดุลของมื้ออาหารที่เพียงพอให้กับลูก หรือในระหว่างวันมีการเลือกเครื่องดื่มที่มีสารอาหารครบถ้วน เพื่อเพิ่มพลังงานให้เด็ก ๆ
พลังงานแค่ไหนถึงเพียงพอที่จะไม่ทำให้ลูกผอมเกินไป?
เด็กวัยเรียนทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีปริมาณความต้องการพลังงานที่ใกล้เคียงกันคือ 1,600 - 1,850 กิโลแคลอรีต่อวัน โดยความต้องการของเด็กวัยนี้อาจคำนวณได้จากน้ำหนักโดยมีวิธีการคิด ดังนี้
-
น้ำหนัก 10 กิโลกรัมแรก ให้คูณด้วย 100
-
น้ำหนัก 10 กิโลกรัมต่อมา ให้คูณด้วย 50
-
น้ำหนักที่เกิน 20 กิโลกรัม ให้คูณด้วย 20
-
นำค่าที่ได้มารวมกันเป็นความต้องการพลังงานใน 1 วัน
ตัวอย่าง เช่น ลูกหนัก 40 กิโลกรัม จะต้องการพลังงาน
= (10X100) +(10X50) +(20x20)
= 1,000+500+400
= 1,900 กิโลแคลลอรี ต่อวัน
อีกทั้งยังต้องควบคู่ไปกับสารอาหารกลุ่มโปรตีน 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ นมไข่ วิตามินและเกลือแร่ รวมถึงการดื่มน้ำให้เพียงพอ 4-6 แก้วต่อวัน
โดยสรุปแล้วการที่ลูกดูผอมมาก อาจจะไม่ใช่ปัจจัยเรื่องของการที่ลูกกินข้าวยากหรือกินน้อยเพียงอย่างเดียว ยังอาจเกิดจากการที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพออีกด้วย ดังนั้นควรปรับอาหารของลูกให้เหมาะสมกับวัย และปรับอาหารการกินให้ได้ปริมาณที่มากเพียงพอต่อความต้องการในการใช้พลังงานในแต่ละวัน โดยเริ่มต้นจากอาหารเช้าสำหรับเด็กที่ครบถ้วนสมบูรณ์ คุณแม่สามารถนำวิธีคำนวณข้างต้นหรือการคำนวณค่า bmi เด็กไปปรับใช้กับลูกซึ่งสามารถใช้วัดความสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูง รวมถึงการเลือกอาหารให้เหมาะสม เพียงเท่านี้ลูกของเราก็จะไม่ดูผอมเกินไปแล้วค่ะ
Ref:
http://thidaratana.blogspot.com/2011/11/nutrition-in-preschool-children.html